RSS

สถิติและข้อมูล

สถิติและข้อมูล

 สถิติ หมายถึง ศาสตร์ที่นำมากระทำกับหลักฐานที่เป็นข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการกระทำได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และการนำผลการวิเคราะห์มาสรุป

ประเภทของสถิติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
               1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่บรรยายถึงคุณลักษณะของสิ่งที่กำลังต้องการศึกษา  ;ว่าด้วยการสรุปข้อมูลแต่ละชุดที่เราสนใจ  ค่าวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ,  มัธยฐาน ,  ฐานนิยม)   ค่าวัดการกระจายข้อมูล ( ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,  พิสัย)
               2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ศึกษาข้อมูลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว จากข้อมูลของประชากรทั้งหมด

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ สถิติ
                1.  ประชากร (population)  หมายถึง 
กลุ่มที่มีลักษณะที่เราสนใจ  หรือกลุ่มที่เราต้องการจะศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  เปรียบเหมือนเอกภพสัมพัทธ์ในเรื่องเซต
                2.  กลุ่มตัวอย่าง (sample)  หมายถึง ส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่เราสนใจ  ในกรณีที่กลุ่มประชากรที่จะศึกษานั้นเป็นกลุ่มขนาดใหญ่  เกินความสามารถหรือความจำเป็นที่ต้องการ  หรือเพื่อประหยัดในด้านงบประมาณและเวลา  สามารถศึกษาข้อมูลเพียงบางส่วนของกลุ่มประชากรได้
               3.   ค่าพารามิเตอร์ หมายถึง  ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มประชากร  จะถือเป็นค่าคงตัว  กล่าวคือ  คำนวณกี่ครั้งๆก็จะไม่เปลี่ยนแปลง
               4.  ค่าสถิต  หมายถึง  ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มตัวอย่าง  จะเป็นค่าที่เปลี่ยนแปลงได้ตจามกลุ่มตัวอย่างที่เลือกสุ่มมา  จึงถือว่าเป็นค่าตัวแปรสุ่ม
               5.  ตัวแปร  ในทางสถิติ  หมายถึง  
ลักษณะบางอย่างที่เราสนใจ  ค่าของตัวแปร  อาจอยู่ในรูปข้อความ  หรือตัวเลขก็ได้
               6.  ค่าที่เป็นไปได้  หมายถึง  ค่าของตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง
               7.  ค่าจากการสังเกต  หมายถึง  
ค่าที่เก็บรวบรวมได้มาจริงๆ

ข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูล    
        ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น  คน  สัตว์  สิ่งของ  สถานที่ต่าง ๆ ธรรมชาติทั่วไป 

     ประเภทของข้อมูลอาจแบ่งออกได้หลายประเภทดังต่อไปนี้

1.  แบ่งประเภทข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

        1.1  ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ขึ้นเอง เช่น การเก็บแบบสอบถาม การทดลองในห้องทดลอง 
        1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Second Data)
หมายถึง ข้อมูลที่ผู้ใช้นำมาจากหน่วยงานอื่น หรือผู้อื่นที่ได้ทำการเก็บรวบรวมมาแล้วในอดีต เช่น รายงานประจำปีของหน่วยงานต่างๆ ข้อมูลท้องถิ่นซึ่งแต่ละอบต.เป็นผู้รวบรวมไว้ ฯลฯ

2. แบ่งประเภทข้อมูลตามระดับการวัด สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท

      2.1  ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้
    2.2 
ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ
   2.3
ข้อมูลระดับอันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆกัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ ระดับผลการเรียน ฯลฯ
  2.4 ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือ นอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ

  3. แบ่งประเภทข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล สามารถแบ่งได้  2  ประเภทดังนี้

     3.1  ข้อมูลเชิงปริมาณ  คือ  ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แทนขนาดหรือปริมาณที่วัดออกมา  สามารถนำมาเปรียบเทียบข้อมูลได้  เช่นอายุ  ส่วนสูง  น้ำหนัก  รายได้ ฯลฯ
     3.2  ข้อมูลเชิงคุณภาพ  คือ  ข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นจำนวนได้แต่อธิบายลักษณะของข้อมูลนั้น ๆ เช่น  เพศ  ระดับการศึกษา  ฯลฯ

 

4 responses to “สถิติและข้อมูล

  1. แบทเอน

    28/05/2018 at 3:05 pm

    มีประโยชน์มากเลยค่ะ~ ขอบคุณนะคะ~

     
  2. kissadakorn

    19/05/2018 at 1:01 pm

    ขอบคุณครับ

     
  3. เนติ จิรพัทธ์

    08/09/2017 at 12:35 am

    ขอบคุณมากครับ

     

ใส่ความเห็น